RegistermemberS loginmember


ชี้ตำหนิพระ รุ่น 100 ปี

ไข่ปลาใหญ่

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่
    พิมพ์ "จุดไข่ปลาใหญ่" พิมพ์นี้มีจุดเด่นตรงที่ มีจุดเม็ดไข่ปลาใหญ่ กว่าพิมพ์อื่นๆ ตำแหน่งจุดไข่ปลาอยู่ต่ำกว่าฐานชั้นที่ 3 เล็กน้อย พระพักตร์รูปไข่ ขอบข้างพิมพ์ค่อนข้างหนา เนื้อมวลสารแก่ผงว่าน มีผงปูนผสมอยู่น้อย เนื้อพระอมน้ำมัน ทำให้มวลสารออกสีอมเหลือง พระพิมพ์นี้มีจุดสังเกตุในพิิมพ์อยู่หลายจุดด้วยกัน แต่มีพระจำนวนไม่มากที่มีจุดตำหนิครบถ้วนชัดเจนทุกจุดได้ อย่างเช่นองค์ในภาพ องค์นี้ถือว่าเป็นองค์ที่กดพิมพ์ได้ลึกและแน่น คาดว่าน่าจะเป็นองค์ที่กดพิมพ์องค์แรกๆ แม่พิมพ์ยังสะอาดอยู่ จึงสามารถเก็บรายละเอียดในพิมพ์ได้ครบถ้วนชัดเจน การตัดขอบข้างมีความเรียบร้อยสวยงาม ฟอร์มพิมพ์ไม่บิดเบี้ยว บ่งบอกถึงความตั้งใจทำอย่างปราณีตของผู้กดพิมพ์พระองค์นี้ได้เป็นอย่างดี

    ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.5*3.8 ซม.  

+++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่ แบบที่ 1
    1.มีจุดเม็ดเล็กอยู่ชิดแนวโค้งด้านนอกของเส้นซุ้มด้านซ้ายมือองค์พระ
    2.มีจุดเม็ดเล็กอยู่ชิดกับข้อมือขวาองค์พระ
    3.จุดไข่ปลาเม็ดใหญ่ อยู่ต่ำกว่าฐานชั้นที่ 3 เล็กน้อย
    4.มีจุดเม็ดเล็กอยู่ใต้หัวเข่าซ้ายองค์พระ
    5.หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านขวามือองค์พระ ยุบตัวเป็นแอ่ง
    6.มีจุด 1 จุดอยู่นอกเส้นซุ้มด้านล่าง ซ้ายมือองค์พระ
    7.มีแนวเส้นเนื้อเกินอยู่นอกเส้นซุ้ม บริเวณมุมล่างขวามือองค์พระ (จุดแยกพิมพ์สำคัญ)
    8.มีจุด 2 จุด บริเวณใต้หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้ายมือองค์พระ

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่ แบบที่ 2 (เนื้อเหลือง)
    1.จุดไข่ปลาเม็ดใหญ่ อยู่ต่ำกว่าฐานชั้นที่ 3 เล็กน้อย
    2.มีจุดเนื้อเกิน 2 จุด บริเวณใต้หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้ายมือองค์พระ
    3.หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านขวามือองค์พระ ยุบตัวเป็นแอ่งลึก
    4.มีแนวเส้นเนื้อเกินอยู่นอกเส้นซุ้ม บริเวณมุมล่างขวามือองค์พระ (จุดแยกพิมพ์สำคัญ)

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่ แบบที่ 3
    1.มีแนวเส้นนูนยาวบริเวณขอบบนซ้ายมือองค์พระ
    2.มีจุดเนื้อเกิน 1 จุด นอกเส้นซุ้ม (ระดับเดียวกับฐานชั้นที่ 2) ซ้ายมือองค์พระ (จุดแยกพิมพ์สำคัญ)
    3.หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านขวามือองค์พระ ยุบตัวเป็นแอ่งลึก
    4.มีเนื้อเกิน 3 ขีด จุดอยู่มุมนอกเส้นซุ้มด้านล่างซ้ายมือองค์พระ (จุดแยกพิมพ์สำคัญ)

    พระพิมพ์นี้มีจุดสังเกตุในพิมพ์อยู่หลายจุดด้วยกัน แต่มีพระจำนวนไม่มาก ที่มีจุดตำหนิครบถ้วนชัดเจนทุกจุดอย่างเช่นองค์ในภาพ องค์นี้ถือว่าเป็นองค์ที่กดพิมพ์ได้ลึกและแน่น คาดว่าน่าจะเป็นองค์ที่กดพิมพ์องค์แรกๆ แม่พิมพ์ยังสะอาดอยู่ จึงสามารถเก็บรายละเอียดในพิมพ์ได้ครบถ้วนชัดเจน

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่ แบบที่ 4
    แม่พิมพ์นี้เป็นอีกแม่พิมพ์ที่มีจุดสังเกตุต่างออกไป คือ มีจุดอยู่ใต้ฐานชั้นที่ 1 ด้านขวาองค์พระ

++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์จุดไข่ปลาใหญ่ สภาพต่างๆ


++++++++++++++++++++++++++++++

ต้อใหญ่

พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก)
    พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่พบเห็นน้อยมาก มีลักษณะแนว "ซุ้มครอบแก้ว" ใกล้เคียงกับ "พระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่(เก่า)มากที่สุด พระเศียรกลมโต ไหล่กว้าง จุดไข่ปลาด้านขวาองค์พระ อยู่ต่ำกว่าหัวฐานชั้นที่ 3 เล็กน้อย และพิมพ์นี้ยังเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบของ "พิมพ์ต้อ" อีกด้วย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ "แบบบาง" และ "แบบหนา"
    - พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบบาง เนื้ออมเหลือง : พระเกศมีเส้นซ้อนกัน 2 ชั้น พื้นผิวพิมพ์แบนราบทั้งหน้า และหลัง ขอบบาง
    - พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบหนา เนื้อขาว : พระเกศเรียวแหลมมีชั้นเดียว พื้นผิวพิมพ์ด้านหน้าอูมเล็กน้อย ขอบหนา

    จุดเด่น คือ พระเศียรกลมโต และใต้เส้นปิดซุ้มมุมล่างขวาองค์พระ มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ จุดนี้เหมือนกันทั้งแบบบาง และแบบหนา

 

ต้อใหญ่บล็อคแรก-บางตอใหญบลอคแรก-หนา

 (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

จุดพิจารณาสำคัญ พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบบาง เนื้ออมเหลือง
    1.มุมนอกเส้นซุ้มล่างด้านซ้ายองค์พระมีเนื้อเกิน 1 จุด
    2.มีจุดเล็ก 3 จุด ใต้เส้นปิดซุ้ม
    3.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ
    4.พระเกศซ้อน 2 ชั้น
    5.พื้นผิวพิมพ์แบนราบทั้งหน้า และหลัง ขอบข้างบาง
    6.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ

 

จุดพิจารณาสำคัญ พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบหนา (เนื้อขาว)
    1.พระเศียรกลมโต พระเกศเรียวแหลมมีชั้นเดียว
    2.มีจุดเล็กๆใต้แขนซ้ายองค์พระ
    3.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นเส้นพริ้วสั้นๆ
    
       **แม่พิมพ์นี้จะดูองค์พระอวบใหญ่**

 

พิมพ์ต้อใหญ่ สภาพต่างๆ

ด้านหน้า

ตอใหญ1  ตอใหญ2  ตอใหญ3
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

ตอใหญ4   ตอใหญ5   ตอใหญ6
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

ซุ้มซ้อน

รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ (ซุ้มซ้อน) นิยม
    จุดเด่น คือ ตลอดแนวสันเส้นซุ้มครอบแก้วทั้งหมด มีเส้นทิวซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง พิมพ์นี้เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มพิมพ์นิยมที่ฟอร์มพิมพ์คมลึกและการตัดขอบพิมพ์มีความเรียบร้อย มี "ซุ้มครอบแก้ว" ที่สมบูรณ์ได้รูปมากที่สุดในกลุ่มนิยม พระเศียรกลมนูนสูงโดดเด่น สัดส่วนพิมพ์ทรงสมส่วนได้มาตรฐาน ขอบองค์พระหนา จุดไข่ปลาอยู่ระดับเดียวกับหัวฐานชั้นที่ 3 ด้านขวาองค์พระ ผิวแห้งนุ่มและเนียนแน่นมีสีผึ้งเคลือบผิวน้อย เนื้อมวลสารขาว หรือขาวอมเหลือง ขึ้นอยู่กับความหนาบางของสีผึ้งที่ทาเคลือบผิว

 

++++++++++++++++++++++++++++++

 

พมพซมซอน

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์ใหญ่ (ซุ้มซ้อน) นิยม
    1.มีเส้นทิวซ้อนอยู่บนแนวสันเส้นซุ้มครอบแก้วอีกชั้นหนึ่ง (ซุ้มซ้อน)
    2.หัวฐานสิงห์ชั้นที่ 2 ด้านซ้ายองค์พระใหญ่กว่าด้านขวา
    3.มีเส้นทิวซ้อนตลอดแนวโค้งเส้นซุ้มด้านบน    
    4.บนสันเส้นปิดซุ้มด้านล่าง มีรอยคล้ายร่องลึกเป็นแนวยาว
    5.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
    6.ฐานชั้นที่ 1 ยุบเป็นแอ่งตื้นๆ
    7.มีหลุมลึก บริเวณสันเส้นซุ้ม มุมซ้ายล่าง (จุดแยกพิมพ์ไข่ปลาเลือน)

++++++++++++++++++++++++++++++



พิมพ์ใหญ่ (ซุ้มซ้อน) นิยม สภาพต่างๆ

++++++++++++++++++++++++++++++

พิมพ์แขนกลม

พิมพ์แขนกลม

 

พิมพ์แขนกลม

 

พิมพ์แขนกลม

 

พิมพ์แขนกลม

 

พิมพ์แขนกลม

 

"ว่าด้วยเรื่องพิมพ์แขนกลม"
    สำหรับพิมพ์แขนกลมนี้ แม้ว่าจะเป็นพิมพ์ที่ทางคณะผู้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุ และผู้จัดทำหนังสือ "อนุสรณ์ฯ 100 ปี" เล่มแรกที่จัดพิมพ์ขึ้นในปี 2515 พร้อมกับวัตถุมงคลนั้น จะได้ให้ความสำคัญ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงยืนยันที่มาของแม่พิมพ์นี้ ว่าเป็นแม่พิมพ์แรกที่นำมากดพิมพ์พระผง รุ่น อนุสรณ์ฯ 100 ปี ก็ตาม
    แต่เนื่องจากปัจจุบันหนังสือที่ใช้อ้างอิงนั้นพบเห็นได้น้อยมาก จึงไม่สามารถถ่ายทอดให้ได้รับรู้กันในวงกว้าง ผนวกกับมีพระรุ่นอื่นๆ ที่มีพิมพ์ทรงคล้ายๆ กันกับพิมพ์แขนกลมนี้ ทั้งที่สร้างก่อน และหลัง ปี2515 ปะปนให้เห็นกันอยู่ทั่วไปตามสนามพระเครื่องฯ จึงทำให้นักสะสมในปัจจุบันรู้สึกเกิดความไม่ชัดเจนขึ้น มีเพียงพยานบุคคลที่มีส่วนสำคัญใกล้ชิดในพิธีบางท่าน ที่ยังพอถ่ายทอด ยืนยันความมีอยู่ของแม่พิมพ์นี้ให้ทราบกันว่า พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ช่างเกษม ได้แกะพิมพ์ของท่านเองไว้ก่อนเป็นปีแล้ว ภายหลังพอทราบว่าทางวัดระฆังฯ จะมีการจัดทำวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ฯ100 ปีขึ้น จึงได้นำแม่พิมพ์แขนกลมนี้มามอบให้ใช้ในการกดพระผงพิมพ์สมเด็จ แต่พอกดไปได้ส่วนหนึ่ง คณะกรรมการเล็งเห็นว่าแม่พิมพ์นี้ยังมีความสวยงามไม่มากพอ จึงได้เสนอให้มีการแกะพิมพ์ขึ้นใหม่ ก็คือพิมพ์เศียรโต บล็อคแรกที่นิยมในปัจจุบันนั่นเอง และก็ได้ใช่ภาพพิมพ์เศียรโตนี้ พิมพ์เป็นใบฝอย โฆษณาออกให้บูชาด้วย
    ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนนั้นเห็นว่า หากพิจารณากันจากประวัติของทางวัดระฆังฯ ที่บันทึกไว้ จากพยานบุคคล และกรรมวิธีการผลิตของพระรุ่น อนุสรณ์ฯ 100 ปี และรุ่นอนุสรณ์ฯ ต่างๆ ของวัดระฆังฯ ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ใด คือ มวลสารที่มีปูนขาว กล้วย น้ำอ้อย น้ำผึ้ง คลุกเคล้าเป็นมวลสารหลัก การตัดขอบข้างด้วยมือ การขัดแต่ง และการเคลือบผิวด้วยสีผึ้ง และขนาดของพิมพ์แขนกลมที่ใหญ่กว่า เหล่านี้ก็เป็นสิ่งยืนยันได้มากเพียงพอในการมีอยู่ของพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม (แขนกลม)
    แม้ในภายภาคหน้าแม่พิมพ์นี้จะเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับกันจะมากหรือน้อยเพียงใด ส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญแต่อย่างใด เพราะด้วยเจตนาเพียงเพื่อสืบทอดเรื่องราวความเป็นมา ตามที่คนรุ่นก่อนได้สร้างไว้ ไม่ให้ถูกลืมไปเท่านั้น
    ภาพเปรียบเทียบพิมพ์แขนกลมของวัดระฆังฯ รุ่น 100 ปี และวัดอื่นๆ
    1.1-1.3    พิมพ์แขนกลมของวัดระฆังฯ รุ่น 100 ปี
    2.1-2.3    พิมพ์ของหลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
    3.1-3.3    พิมพ์ของวัดกัลยาณมิตร

ไข่ปลาเลือน

รุ่น 100 ปี พิมพ์ไข่ปลาเลือน นิยม
    ขนาดเท่าองค์จริง สูงประมาณ 3.8 ซม.

+++++++++++++++++++++++++++


    ลักษณะพิมพ์ทรงไข่ปลาเลือน พิมพ์นี้เป็นหนึ่งในพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากฟอร์มพิมพ์มีความสวยงาม ซึ่งนอกจากนี้ "พิมพ์เศียรโต บล็อคแรก"แล้ว พิมพ์นี้ก็เป็นอีกพิมพ์ที่มี "เส้นผ้าทิพย์" ใต้หน้าตักองค์พระปรากฏให้เห็น พิมพ์ทรงลึกชัด องค์พระล่ำสันใหญ่ องค์ที่กดสวยผิวด้านหน้าจะเรียบแน่น แต่โดยส่วนใหญ่ผิวด้านหลังจะมีรอยปริไม่มากก็น้อย ถือเป็นธรรมชาติของพิมพ์นี้อย่างหนึ่ง การตัดขอบข้างค่อนข้างหนา มีรอยขัดแต่งเรียบร้อย สัดส่วนพิมพ์ทรงสมส่วนได้มาตรฐาน สีผึ้งเคลือบผิวมีทั้งหนาและบาง ผิวจึงออกอมเหลืองหรือเหลืองต่างกันบ้าง
    แม่พิมพ์นี้จัดแบ่งออกเป็น 3 แม่พิมพ์ โดยทั้ง 3 แม่พิมพ์ล้วนแล้วแต่มีต้นแบบมาจาก แม่พิมพ์ตัวเดียวกันทั้งสิ้น แตกต่างกันที่ตำหนิในบางจุด สีเนื้อมวลสาร และฝีมือการกดการตัดข้างพิมพ์เท่านั้น
    

++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 1
    แม่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์นิยมที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดในหมู่นักสะสมพระเครื่องฯ ทั่วไป องค์พระล่ำสันใหญ่ เส้นซุ้มอวบหนา ขอบข้างหนา ผิวเรียบแน่นมีรอยปริแยกน้อย เนื้อมวลสารสีขาวนวลละเอียด จุดเม็ดไข่ปลาข้างฐานชั้นบน ส่วนใหญ่จะเลอะเลือนกดไม่ติดพิมพ์ จึงเป็นที่มาของชื่อแม่พิมพ์ "ไข่ปลาเลือน" ซึ่งจะเห็นได้ในองค์ที่กดลึกชัดเจนเท่านั้น
    จุดสำคัญเฉพาะแม่พิมพ์นี้ คือ มี "เส้นผ้าทิพย์" มักมองเห็นจุดไข่ปลา ในตำแหน่งใกล้กับหัวฐานชั้นบน และฐานชั้นที่ 2 เป็นแบบฐานสิงห์ ขาฐานสิงห์ด้านซ้ายองค์พระ ยื่นทับหัวฐานชั้นที่ 1 จนเป็นรอยเว้า และการตัดขอบข้างจะป้านเฉียงออกไปทางด้านหลัง ทำให้พื้นด้านหน้าแคบกว่าพื้นด้านหลังเล็กน้อย

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 1
    1.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
    2.องค์ที่กดพิมพ์ชัดจะมี "เส้นผ้าทิพย์" ปรากฏให้เห็น
    3.องค์ที่กดพิมพ์ชัดจะเห็น "จุดไข่ปลา" อยู่ระดับเดียวกับฐานชั้นบน
    4.หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้ายองค์พระ เป็นรอยเว้า (จุดสำคัญ)
    5.บริเวณกึ่งกลางฐานชั้นล่างคอดเล็ก (จุดสำคัญ)
    6.บนสันเส้นซุ้มด้านล่าง มีรอยยุบตัวเป็นแอ่งๆ

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาเลือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)



พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 1
    1.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
    2.องค์ที่กดพิมพ์ชัดจะมี "เส้นผ้าทิพย์" ปรากฏให้เห็น
    3.หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้ายองค์พระ เป็นรอยเว้า (จุดสำคัญ)   
    4.องค์ที่กดพิมพ์ชัดจะมี "เส้นผ้าทิพย์" ปรากฏให้เห็น
    5."จุดไข่ปลา" อยู่ระดับเดียวกับฐานชั้นบน
    6.บริเวณกึ่งกลางฐานชั้นล่างคอดเล็ก (จุดสำคัญ)

++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 1 สภาพต่างๆ

++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 2
    พิมพ์ไข่ปลาเลือน แม่พิมพ์ที่ 2 นี้ ลักษณะโดยร่วมจะเหมือนกับพิมพ์ที่เกือบทุกประการ องค์พระล่ำสันใหญ่ เส้นซุ้มอวบหนา ขอบข้างหนา ผิวเรียบแน่นมีรอยปริแยกน้อย เนื้อมวลสารสีขาวนวลละเอียดแต่จะมีเพียงบางจุดเท่านั้นที่ไม่เหมือนกันคือ จะไม่ค่อยมีเส้นผ้าทิพย์ปรากฏให้เห็น จุดไข่ปลามักเลอะเลือนไม่ติดพิมพ์ (เป็นที่มาของชื่อพิมพ์) และเฉพาะพิมพ์นี้จะมีหลุมลึก บริเวณสันเส้นซุ้ม มุมซ้ายล่างองค์พระ (จุดสำคัญ) ด้านหลังมีรอยปริแยกมากน้อยกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ช่วยให้ดูง่ายยิ่งขึ้น ในบางองค์หากตัดขอบข้างไม่ชิดพอดีกรอบบังคับแม่พิมพ์ จะเผยให้เห็นจุดไข่ปลาซ่อนอยู่อีกด้วย

++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาเลือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 2
        1.หากตัดขอบไม่ชิดกรอบบังคับแม่พิมพ์ จะเห็นจุดไข่ปลาซ่อนอยู่
        2.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
        3."จุดไข่ปลา" อยู่ระดับเดียวกับฐานชั้นบน
        4.มีหลุมลึก บริเวณสันเส้นซุ้ม มุมซ้ายล่างองค์พระ (จุดสำคัญ)
        5.บริเวณกึ่งกลางฐานชั้นล่างคอดเล็ก (จุดสำคัญ)
        6.บนสันเส้นซุ้มด้านล่าง มีรอยยุบตัวเป็นแอ่งๆ

++++++++++++++++++++++++++++++


    
ไข่ปลาเลือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 2
    1.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
    2.องค์พระล่ำสันใหญ่
    3.มีหลุมลึก บริเวณสันเส้นซุ้ม มุมซ้ายล่างองค์พระ (จุดสำคัญ)
    4.หากตัดขอบไม่ชิดกรอบบังคับแม่พิมพ์ จะเห็นจุดไข่ปลาซ่อนอยู่
    5."จุดไข่ปลา" อยู่ระดับเดียวกับฐานชั้นบน
    6.บริเวณกึ่งกลางฐานชั้นล่างคอดเล็ก (จุดสำคัญ)

++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 2 สภาพต่างๆ

++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 3
    แม่พิมพ์นี้ดูจะแตกต่างจากพิมพ์ไข่ปลาเลือนแม่พิมพ์อื่นที่สุด จุดเด่นที่ใช้แยกแม่พิมพ์นี้ คือ กรอบบังคับพิมพ์ด้านหน้าเป็นสันนูนทั้ง 4 ด้าน การตัดขอบข้างเป็นแนวตรงไม่เบนออก ทำให้พื้นด้านหน้า และหลังกว้างพอๆกัน พระเศียรเป็นวงรี ลำคอชัด มี "เส้นผ้าทิพย์" ใต้หน้าตักให้เห็นลางๆ แต่จุดเม็ดไข่ปลาข้างฐานชั้นบน ส่วนใหญ่จะเลือนๆ องค์ที่จุดไข่ปลาชัดมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น มีสีผึ้งหนา ผิวสีเนื้อจึงออกอมเหลืองส่วนใหญ่

 ++++++++++++++++++++++++++++++

 

ไข่ปลาเลือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 3
    1.กรอบบังคับ พิมพ์ด้านหน้าเป็นสันนูนทั้ง 4 ด้าน
    2.มีหลุมลึก บริเวณสันเส้นซุ้ม มุมซ้ายล่าง (จุดแยกพิมพ์ไข่ปลาเลือน)
    3.มีหลุมลึก บริเวณสันเส้นปิดซุ้มด้านล่างเยื้องมาทางซ้ายองค์พระ
    4.พระพักตร์ เป็นวงรี ลำคอชัด
    5.จุดไข่ปลาส่วนใหญ่จะเลือนๆไม่ชัด
    6.มุมล่างทั้ง 2 ด้าน มีเนื้อเกินเชื่อมระหว่างมุมเส้นซุ้มกับกรอบบังคับแม่พิมพ์

 ++++++++++++++++++++++++++++++


   พิมพ์ไข่ปลาเลือน พิมพ์ที่ 3 สภาพต่างๆ

++++++++++++++++++++++++++++++

พิมพ์เส้นด้าย

 

พิมพ์เส้นด้าย นิยม
    1.พิมพ์เส้นด้ายลึก ฟอร์มเศียรโต
    2.พิมพ์เส้นด้ายลึก
    3.พิมพ์เส้นด้ายใหญ่
    4.พิมพ์เส้นด้ายเล็ก
    พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์นี้เป็นหนึ่งในพิมพ์นิยมที่พบเห็นได้บ่อยๆ แม่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ถอดพิมพ์ต่อเนื่องมาจาก "พิมพ์เศียรโต บล็อคแรก" สังเกตุได้จากเค้าโคลงจุดพิจารณาพิมพ์สำคัญหลักๆ ของพิมพ์เส้นด้ายนี้ จะเป็นจุดเดียวกันกับพิมพ์เศียรโต แต่เนื่องจากพิมพ์เส้นด้ายเป็นพระที่ถอดแบบ กดพิมพ์ในช่วงหลังๆ พิมพ์จึงตื้นขึ้นๆ เรื่อยๆ ตามลำดับ ซึ่งจะสามารถแบ่งระดับความลึก ของแม่พิมพ์เส้นด้ายที่เห็นได้ชัดออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ พิมพ์เส้นด้ายลึก ฟอร์มเศียรโต,พิมพ์เส้นด้ายลึก,พิมพ์เส้นด้ายใหญ่ และพิมพ์เส้นด้ายเล็ก

 


รวมเสนดาย1รวมเสนดาย2รวมเสนดาย3รวมเสนดาย4 

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)   

 

โดยทั้ง 4 แม่พิมพ์ล้วนแล้วแต่มีต้นแบบมาจาก แม่พิมพ์ตัวเดียวกันทั้งสิ้น ซึ่งจุดที่มีเหมือนกันในทุกแม่พิมพ์ก็คือ รอยเว้าบริเวณใต้เส้นปิดซุ้มด้านล่าง ลักษณะสีผึ้งเคลือบผิวจะมีทั้งหนา และบาง มีรอยกระดาษทรายขัดแต่งขอบข้าง และด้านหลัง รอยกระดาษทรายนี้ ถือว่าสำคัญมากในการพิจารณา พระผงรุ่น 100 ปี เพราะทุกพิมพ์จะต้องมีรอยขัดแต่งนี้อยู่ทุกองค์ไม่มากก็น้อย

 

 



 

 

 

 

 

 

 

พิมพ์เศียรโต บล็อค B

พิมพ์เศียรโต บล็อค B
    พิมพ์เศียรโต บล็อค B เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มพิมพ์นิยมที่พบเห็นได้น้อยมาก เค้าโครงพิมพ์คล้ายกับพิมพ์เศียรโต บล็อคแรก (ซึ่งเศียรโตทั้ง 2 พิมพ์ ต่างมีต้นแบบเดียวกัน) เพียงแต่พิมพ์เศียรโต บล็อค B จะตื้นกว่ามาก
    การกดเนื้อพระโดยส่วนใหญ่ของแม่พิมพ์นี้ค่อนข้างแน่น มีรอยปริน้อย การตัดขอบ และการขัดแต่งขอบข้างมักเรียบแน่นตึง ดูเรียบร้อยสวยงาม คราบสีผึ้งเคลือบผิวมีทั้งหนา และบาง ด้านหลังมักมีรอยปาดขัดแต่งไปในแนวขวาง
    ลักษณะพิมพ์ทรงที่สำคัญคือ พระเกศจะเรียวยาวเป็นเส้นตรง มีรอยยิกบริเวณแนวโค้งเส้นซุ้มด้านขวาองค์พระ และแนวโค้งเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ จะห้กมุมเป็นช่วงตามแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พระเศียรโตกลมโต ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา จุดไข่ปลาอยู่ระหว่างฐานชั้นบน และชั้นกลาง สันเส้นปิดซุ้มด้านล่างเยื้องมาทางซ้ายมือองค์พระ มีรอยยุบเป็นแอ่ง
    

 


เศียรโตB4

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

เศียรโต บล็อคB       เศียรโต บล็อคB

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)                                                (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

จุดพิจารณาสำคัญ
        1.พระเกศจะเรียวยาวเป็นเส้นตรง
        2.มีรอยยิกบริเวณแนวโค้งเส้นซุ้มด้านขวาองค์พระ
        3.แนวโค้งเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ จะห้กมุมเป็นช่วงๆ
        4.พระเศียรโตกลมโต
        5.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
        6.จุดไข่ปลาเม็ดเล็ก อยู่ระหว่างฐานชั้นบน และชั้นกลาง
        7.สันเส้นปิดซุ้มด้านล่าง มีรอยยุบเป็นแอ่ง

 


        
เศียรโต บล็อคB       เศียรโต บล็อคB

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)                                                (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


จุดพิจารณาสำคัญ
    ด้านหน้า
        1.พระเศียรโตกลมโต
        2.แนวโค้งเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ จะห้กมุมเป็นช่วงๆ
        3.ซอกแขนซ้ายองค์พระสูงกว่าซอกแขนขวา
        4.สันเส้นปิดซุ้มด้านล่าง มีรอยยุบเป็นแอ่ง
        5.พระเกศจะเรียวยาวเป็นเส้นตรง
        6.มีรอยยิกบริเวณแนวโค้งเส้นซุ้มด้านขวาองค์พระ
        7.จุดไข่ปลาเม็ดเล็ก อยู่ระหว่างฐานชั้นบน และชั้นกลาง
        8.สันเส้นปิดซุ้มด้านล่าง มีรอยยุบเป็นแอ่ง
       

 

 

เศยรโต บล็อคB     เศยรโต บล็อคB
 

เศียรโต บล็อคB     เศียรโต บล็อคB

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

    ด้านข้าง
        9.การขัดแต่งขอบข้างมักเรียบแน่นตึง ดูเรียบร้อยสวยงาม

 

 

6เศียรโต บล็อคBเศยรโต

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


    ด้านหลัง
        10.พิมพ์เศียรโต ด้านหลังมักมีรอยปาดขัดแต่งไปในแนวขวาง
        11.ผิวเป็นรอยเหนอะ เป็นธรรมชาติ
        
    

 

หมวดหมู่รอง

clientlogo 01
clientlogo 02
clientlogo 03

youtubechannel
www.youtube.com/zian100pi

13914302
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
19886
24857
151673
13542556
653629
1023275
13914302
Your IP: 3.14.251.103
Server Time: 2024-11-23 17:44:19