วาระที่ 2 วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2514 ประกอบพิธีเททองชนวนหล่อพระพุทธปฏิมาจำลอง และรูปเหมือนสมเด็จฯ โต
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประทับยังพลับพลาพิธี
ครั้งนี้ คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินาถ เสด็จฯมาทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ตามกำหนดฤกษ์เวลา 15.35 น. ถึง 16.12 น. ทรงเสด็จฯ ขึ้นทอดพระเนตรหอพระไตรปิฎก ทั้งยังทรงร่วมกันปลูกต้นจันทร์ที่หน้าหอพระไตรปิฎกอีกด้วย
-พระราชธรรมภาณี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ นำเสด็จฯ ทอดพระเนตรหอพระไตรปิฎก
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงหย่อนแผ่นทอง นาค เงิน เทลงในเบ้า
ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการบันทึกเหตุการณ์ ถึงความอันน่าอัศจรรย์ใจในวันที่ทรงเสด็จฯ ไว้ว่าในช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝนซึ่งกรมอุตุฯ ได้พยากรณ์จากสถิติในรอบ 30 ปี ว่าจะมีเมฆมาก และจะมีฝนตกชุกตลอดในช่วงบ่ายจนถึงค่ำ เกือบทั้งเดือนกันยายนของปีนั้น ซึ่งในคืนก่อนวันเสด็จฯ (17 ก.ย.2514) ช่างได้ทำการก่อสุมเตาหล่อหลอมโลหะ ปรากฎว่าฝนได้ตกอยู่ตลอดเวลา ต่อเนื่องมาจนถึงบ่ายของ วันที่ 18 ก.ย. 2514 แต่ฝนได้หยุดตกก่อหน้าเวลาเสด็จฯ เพียง 2-3 ชั่วโมง แต่ท้องฟ้าก็คงฉ่ำไปด้วยฝน
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือสายสูตรเททอง
แต่ด้วยอำนาจแห่งความศักดิ์สิทธิ์ และด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปรากฎว่าเมื่อได้ฤกษ์ที่จะทรงเททอง ท้องฟ้า
ซึ่งฉ่ำไปด้วยฝน กระจ่างสว่างขึ้น มีแสงดวงอาทิตย์อ่อนๆ สาดไปทั่วพิธีมณฑล ยังความปีติอย่างแรงกล้าแก่ผู้ที่ได้ประสบพบเห็นโดยทั่วหน้ากัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ยิ่งกว่านั้นรูปเหมือนสมเด็จฯ (โต) องค์เท่าองค์จริงนั้น ทั้งๆที่สุมพิมพ์กลางฝนมาตลอด และเป็นของใหญ่ซึ่งยากในการหล่อ แต่เมื่อทรงเททองแล้วปรากฏว่า เมื่อเอาพิมพ์ออกหมดแล้วปรากฏว่า
องค์สมเด็จฯ รูปเหมือนดีบริสุทธิ์ ไม่มีชำรุดหรือเสียหายแม้แต่น้อย
-เจ้าคุณวามเทพมุนี พราหมณ์ผู้ให้น้ำสังข์ และเจิม