การจัดสร้างพระเนื้อผงนั้น ทางวัดกำหนดขอบเขตในการจัดทำทุกขั้นตอนให้อยู่ภายในเขตวัดเพียงเท่านั้น โดยมี พระครูใบฎีกาโชคชัย เป็นผู้ดูแลควบคุมงานทั้งหมด
พระเครื่องเนื้อผง ได้จัดทำออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ
1.พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม
2.พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ โต
3.พิมพ์สมเด็จคะแนน
(ส่วนพิมพ์คะแนนรูปเหมือน นั้นก็มีแต่ทางวัดไม่มีการบันทึกเอาไว้)
-พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม
*(รูป.3) -ฯพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จ โต
*(รูป.4) -พิมพ์สมเด็จคะแนน
-พิมพ์คะแนนรูปเหมือน
แต่ละแบบได้จัดสร้างจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ (ยกเว้นพิมพ์พระคะแนน) การจัดสร้างพระเนื้อผงนั้น ทางวัดกำหนดขอบเขตในการจัดทำทุกขั้นตอนให้อยู่ภายในเขตวัดเพียงเท่านั้น โดยมี พระครูใบฎีกาโชคชัย เป็นผู้ดูแลควบคุมงานทั้งหมด ผงที่นำมาผสมเป็นมวลสารซึ่งเนื้อแท้มีส่วนสำคัญๆ และถือเป็นมงคลอย่างยิ่ง ได้แก่ ผงปถมัง ซึ่งเกจิอาจารย์ต่างๆ ได้ประสิทธิ์ประสาทไว้ ผงพระที่แตกหักชำรุดไม่เป็นองค์แล้ว เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ บางขุนพรหมเก่า พระสมเด็จปิลันท์จำนวนมาก ว่านนานาชนิด เศษปูนซึ่งหลุดกระเทาะจากพระอุโบสถเป็นต้นมาใช้สร้าง นอกจากนั้นก็มี เกสรดอกไม้โดยเฉพาะเกสรดอกบัวที่บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เกสรดอกไม้ที่บูชาพระตามที่ต่างๆ เศษทองคำเปลวที่ปิดบูชาพระ เป็นต้น
-พระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม ที่บันทึกอยู่ในหนังสือประวัติ ปี2515
พระแม่พิมพ์แรกเริ่มเลยนั้น คือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม (แขนกลม) ซึ่งเป็นพิมพ์ที่นายช่างเกษม มงคลเจริญ ได้แกะพิมพ์ไว้ก่อนหน้าเป็นปีแล้ว เพราะตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสจึงยินดีร่วมด้วย และพิมพ์นี้เป็นเพียงพิมพ์เดียว ที่มีภาพหลักฐานตัวอย่างบันทึกไว้ในหนังสือประวัติที่ทางวัดจัดทำขึ้นเมื่อปี 2515 โดยในช่วงแรกจะใช้แม่พิมพ์นี้กดพิมพ์กันเอง แต่เนื่องจากพระผง
รุ่น 100 ปีนั้น เป็นพระที่ต้องกดพิมพ์ด้วยมือทุกองค์ จึงเกรงว่าการกดพิมพ์ จะได้พระไม่ครบจำนวนทันตามกำหนดการ ต่อมามีการติดต่อทีมช่างให้มากดพิมพ์ภายในวัด จึงได้มีการถอดแม่พิมพ์พระเพิ่ม เพื่อให้มีความสวยงาม และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการถอดแบบจาก "พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่" ซึ่งมีความใกล้เคียงกับองค์ต้นแบบเป็นอย่างมาก ซึ่งตลอดระยะเวลาในการกดพิมพ์พระ ก็ได้ทำการถอดพิมพ์ เพื่อทดแทนแม่พิมพ์เดิมที่ชำรุดไป รวมแล้วกว่า 10 บล็อคพิมพ์ด้วยกัน
-นายเกษม มงคลเจริญ ผู้แกะแม่พิมพ์ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ทรงนิยม
สำหรับข้อมูลเชิงลึกในการสร้างพระเนื้อผง "รุ่น 100 ปี" นั้น มีการบันทึกจากตำราที่มีอยู่เดิมไว้น้อยมาก การศึกษาค้นคว้าส่วนใหญ่มักจะได้จากการเล่าสู่กันฟัง สืบทอดกันมาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดหลายๆ คน แล้วนำเฉพาะข้อมูลที่สอดคล้องกันเท่านั้น มาผนวกกับการเปรียบเทียบจำแนกแยกแม่พิมพ์ที่เป็นสากลนิยม และให้การยอมรับ สรุปได้ความว่า
พระสมเด็จรุ่น 100 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ "กลุ่มพิมพ์มาตรฐานสากลนิยม" กับ "กลุ่มพิมพ์ทั่วไป" และการกดพิมพ์พระนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นกัน คือ มีทั้งที่กดพิมพ์ภายในวัด และส่วนที่กดเสริมมาจากโรงงาน และเพราะสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดกระแสเข้าใจสับสนในเชิงลบ เพราะเข้าใจว่ามีการสร้างเสริม ซึ่งก็จริงแต่พระที่เสริมนั้น เนื่องจากเมื่อทำการกดพิมพ์พระจนครบตามจำนวนแล้ว ยังมีเนื้อผงมวลสารที่ผสมแล้วเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง ในตอนนั้นทางวัดเห็นว่าจำนวนพระที่มีอยู่เดิมนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจำนวนผู้ที่สั่งจอง จึงได้สั่งโรงงานให้นำเนื้อผงที่ยังเหลือกดเป็นพิมพ์พระจนหมด แล้วแยกลังต่างหากในเข้าวันพิธี ซึ่งจำนวนพระชุดเสริมประมาณแบบคร่าวๆ มีราว 4,000 องค์ และทางวัดได้นำตรายางมาประทับไว้ที่ด้านหลังองค์พระ บางส่วนได้นำมาไปบรรจุกล่อง อีกบางส่วนก็ออกให้บูชาเลย ดังนั้นพระสมเด็จรุ่น 100 ปี ทั้งหมดนั้น จึงเป็นพระที่ล้วนแล้วแต่ได้นำเข้าร่วมพิธีพร้อมกันหมด
.......................................................................