RegistermemberS loginmember


ชี้ตำหนิพระ รุ่น 100 ปี

ผงรูปเหมือน

รุ่น 100 ปี
พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรังสี)

++++++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรังสี)
    รูปแบบพิมพ์รูปหมือนใหญ่ คือเป็นพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ โต นั่งขัดสมาธิเพ็ชร ในระฆัง รายละเอียดพิมพ์คมชัดลึก รูปองค์สมเด็จฯ โต นูนสูงกว่าระฆังดูมีมิติ ขอบข้างมักจะหนา เนื้อมวลสารขาว หรือขาวอมเหลืองเล็กน้อย ผิวเรียบแน่นค่อนข้างใส น้ำมันเคลือบผิวบางๆ ผิวแห้งนุ่มเกิดรอยหดย่นตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลักๆ ได้แก่ พิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก
    ซึ่งพิมพ์หน้าใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 5 แบบพิมพ์ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป
(รูป1) พิมพ์หน้าใหญ่
(รูป2) พิมพ์หน้าเล็ก

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 1 (นิยม)
ห่วงลึก รูห่วงแคบ ขอบแบน
    พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่กดพิมพ์ได้ลึดชัดมากกว่าทุกพิมพ์ ทำให้ดูใบหน้าสมเด็จฯ โต เรียวเล็ก ดูเข้มขรึมน่าเกรงขาม มีรายละเอียดของพิมพ์ติดชัดเจนครบถ้วน พื้นพิมพ์เรียบแน่น สวยงาม
    จุดสำคัญ รูห่วงด้านในแคบเล็กกว่าทุกพิมพ์ และขอบห่วงแบน แน่นตึง
(รูป1.1) รูห่วงลึก และแคบ ขอบห่วงแบน (จุดสำคัญ)
(รูป1.2) พระพักตร์ลึก รายละเอียดติดชัด ใบหูติดชัดทั้ง 2 ข้างติดชัด
    1.3 บริเวณไหล่ด้านซ้ายองค์พระ สังฆาฏิโค้ง

(รูป2 และ 5)ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)



พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 2
ห่วงลึก รูห่วงกว้าง ขอบแบน
    พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่กดพิมพ์ได้ลึดชัด มีรายละเอียดของพิมพ์ติดชัดเจนครบถ้วน จุดสังเกตุสำคัญคือ รูห่วงด้านในจะกว้างกว่าพิมพ์นิยม และขอบห่วงแบน แน่นตึง สังฆาฏิเป็นแบบโค้ง
(รูป1.1) รูห่วงลึก และกว้าง ขอบห่วงแบน (จุดสำคัญ)
(รูป1.2) ลักษณะพระพักตร์ติดชัดครบถ้วน สังเกตุใบหูแต่ละแม่พิมพ์จะแตกต่างกัน
(รูป1.3) สังฆาฏิโค้ง
(รูป1.4) ฝ่าเท้าด้านขวาหงายขึ้น องค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วเท้าชัดเจน

(รูป2 และ 5) ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 3
ห่วงลึก ขอบห่วงกลม
    พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่กดพิมพ์ได้ลึดชัด มีรายละเอียดของพิมพ์ติดชัดเจนครบถ้วน จุดสังเกตุสำคัญคือ ขอบห่วงกลม สังฆาฏิเป็นแบบโค้ง ฝ่าเท้าด้านขวาตะแคงข้าง องค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วเท้าชัดเจน
(รูป1.1) รูห่วงลึก ขอบห่วงกลม (จุดสำคัญ)
(รูป1.2) ลักษณะพระพักตร์ติดชัดครบถ้วน สังเกตุใบหูแต่ละแม่พิมพ์จะแตกต่างกัน
(รูป1.3) สังฆาฏิโค้ง
(รูป1.4) ฝ่าเท้าด้านขวาตะแคงข้าง องค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วเท้าชัดเจน

(รูป2 และ 5) ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)


พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 4
ห่วงลึก สังฆาฏิตรง
    พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่กดพิมพ์ได้ลึดชัด มีรายละเอียดของพิมพ์ติดชัดเจนครบถ้วน เป็นพิมพ์ที่พบเห็นได้น้อยที่สุดในบรรดากลุ่มพิมพ์รูปเหมือน และมีลูกนัยน์ตากลมโตกวาพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย จุดสังเกตุสำคัญคือ รูห่วงลึก ขอบห่วงแบน สังฆาฏิเป็นแบบตรง ฝ่าเท้าด้านขวาหงายขึ้น
(รูป1.1) รูห่วงลึก ขอบห่วงแบน (จุดสำคัญ)
(รูป1.2) ลักษณะพระพักตร์ติดชัดครบถ้วน ลูกนัยน์ตากลมโต เปลือกตา 2 ชั้น หางตายาว และใบหูติดชัดทั้ง 2 ข้าง
(รูป1.3) สังฆาฏิตรง (จุดสำคัญ)
(รูป1.4) ฝ่าเท้าด้านขวาหงายขึ้น

(รูป2 และ 5) ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 5
ห่วงตื้น
    ส่วนใหญ่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ขอบข้างค่อนข้างหนาเป็นพิเศษ รายละเอียดพิมพ์จะตื้นกว่าพิมพ์หน้าใหญ่แม่พิมพ์อื่นๆ จุดสังเกตุสำคัญคือ รูห่วงตื้น ขอบห่วงแบน สังฆาฏิเป็นแบบโค้ง
(รูป1.1) รูห่วงตื้น ขอบห่วงแบน (จุดสำคัญ)
(รูป1.2) พระพักตร์ตื้น ใบหูมักติดไม่ชัด
(รูป1.3) ผ้ารัดประคด ลักษณะผูกเป็นปมเล็กๆ
(รูป1.4) เส้นซุ้มระฆังด้านขวาองค์พระตัดเฉียง

(รูป2.1-2.2) ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)



พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 5
ห่วงตื้น
    ส่วนใหญ่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ขอบข้างค่อนข้างหนาเป็นพิเศษ รายละเอียดพิมพ์จะตื้นกว่าพิมพ์หน้าใหญ่แม่พิมพ์อื่นๆ จุดสังเกตุสำคัญคือ รูห่วงตื้น ขอบห่วงแบน สังฆาฏิเป็นแบบโค้ง
1.รูห่วงตื้น ขอบห่วงแบน (จุดสำคัญ)
2.พระพักตร์ตื้น ใบหูมักติดไม่ชัด
3.เส้นซุ้มระฆังด้านใน มีจุดเนื้อเกิน
4.มีจุดเนื้อเกิน ใต้หน้าแข้งซ้ายองค์พระ

3.1.เส้นซุ้มระฆังด้านขวาองค์พระตัดเฉียง
3.2.หัวฐานซุ้มระฆังด้านขวาองค์พระ มีเนื้อเกินเป็นปลายแหลมไปชนขอบองค์พระ

++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์รูปเหมือน(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)



    พิมพ์นี้สังเกตุว่าจะเป็นพิมพ์ที่มีพระพักตร์เล็กที่สุด และใบหูทั้ง 2 ข้างเล็ก พื้นในรูห่วงลึก ขอบห่วงมีทั้งกลมและแบน สังฆาฏิเป็นแบบโค้ง
(รูป1.1) รูห่วงลึก
(รูป1.2) พระพักตร์เล็ก สังเกตุพิมพ์นี้ใบหูด้านซ้ายจะสั้นกว่าด้านขวา
(รูป1.3) สังฆาฏิโค้ง

(รูป1 และ 4) ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6 X 4.1 ซ.ม.

++++++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรังสี)
สภาพต่างๆ

++++++++++++++++++++++++++++++++++

ซุ้มติ่ง

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์(ลึก) ซุ้มติ่ง
    ลักษณะพิมพ์ลึก "ซุ้มติ่ง" เป็นพิมพ์ที่มีแบบพิมพ์ และการกดการตัดกรอบแม่พิมพ์ ดูเรียบร้อยสวยงาม เส้นซุ้มกลมนูนได้รูปไม่บิดเบี้ยว พื้นผิวตึงราบเรียบเสมอกันตลอดทั้งองค์ คล้ายกับพิมพ์ลึก ต่างกันตรงที่แนวโค้งเส้นซุ้มด้านขวาบนมีติ่งเนื้อเกิน เห็นเด่นชัด 3 จุดด้วยกัน หัวไหล่ทั้งสองข้างตั้งตรงดูสง่า พิมพ์นี้ส่วนใหญ่สีผึ้งเคลือบผิวบางๆ เนืื้อมวลสารแก่น้ำมัน ผิงพรรณดูใสออกขาวนวล ผิวเรียบตึงมีรอยย่นจากการหดแห้งเล็กน้อย

ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.5*3.7 ซม.

+++++++++++++++++++++++++++

 

ซุ้มติ่ง

(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์(ลึก) ซุ้มติ่ง
    1.มีติ่งเนื้อ 3 จุด บริเวณแนวโค้งเส้นซุ้มขวามือองค์พระด้านใน 2 จุด ด้านนอก 1 จุด
    2.มีเนื้อเกินในซอกแขนทั้ง 2 ข้าง
    3.จุดไข่ปลาอยู่ระดับเดียวกับหัวฐานชั้นที่ 3 ขวามือองค์พระพอดี
    4.มีเนื้อเกินที่หัวฐานชั้นที่ 1 ด้านขวามือองค์พระ
    
++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ซุ้มติ่ง ด้านหลัง ด้านข้าง
    - หลังมีลักษณะปาดเรียบมีรอยกระดาษทรายเกิดจากการขัดแต่งพิมพ์ ทั้งด้านหลัง และด้านข้าง ผิวใส บางองค์เนื้อเป็นแบบแตกลายงาก็มี ผิวเรียบแน่น มีรอยปริบ้างเล็กน้อย เกิดรอยย่นจากการหดแห้งตามธรรมชาติ คราบสีผึ้งเคลือบผิวดูสม่ำเสมอ

++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

ลึก

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์ลึก
    ลักษณะพิมพ์ "ลึก" เป็นพิมพ์ที่มีแบบพิมพ์ และการกดการตัดกรอบแม่พิมพ์ดูเรียบร้อยสวยงามที่สุดพิมพ์หนึ่งในรุ่น 100 ปี เส้นซุ้มกลมนูนทรงกรวยได้รูปไม่บิดเบี้ยว พื้นผิวตึงราบเรียบเสมอกันตลอดทั้งองค์ หัวไหล่ทั้งสองข้างตั้งตรงดูสง่า พิมพ์นี้ส่วนใหญ่สีผึ้งเลือบผิวบาง เนื้อมวลสารทรงกรวย ผิวพรรณดูสดใส ออกขาวนวล มีรอยย่นจากการหดแห้งเล็กน้อย

+++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์ลึก(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์ลึก
    1.มีสันเนื้อนูนยาวเป็นแนวบริเวณขอบบนซ้ายองค์พระ
    2.มีลำคอเรียวยาว
    3.ศอกแขนขวาสูงกว่าศอกแขนซ้าย
    4.จุดไข่ปลาเม็ดค่อนข้างเล็ก อยู่ระดับเดียวกับหัวฐานชั้นที่ 3 ขวามือองค์พระพอดี
    5.ฐานชั้นที่ 1 ดูใหญ่เรียบสม่ำเสมอ
    
++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ลึก ด้านหลัง ด้านข้าง
    - หลังมีลักษณะปาดเรียบมีรอยกระดาษทรายเกิดจากการขัดแต่งพิมพ์ ทั้งด้านหลัง และด้านข้าง มีรอยปริเป็นหลุมลึกคล้ายรูเข็มค่อนข้างน้อย ผิวใส
    - ด้านข้าง จุดสังเกตหนึ่งที่สำคัญ คือรอยการตัดขอบข้างไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งมักมีรอยเส้นซ้อนเป็นแนวเฉียง เป็นจุดสังเกตจุดหนึ่งที่ช่วยให้พิจารณาง่าย

++++++++++++++++++++++++++++++

 

อกใหญ่

 

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์อกใหญ่
    ลักษณะพิมพ์อกใหญ่ เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างดูตื้น บริเวณช่วงกึ่งกลางหน้าอกดูนูนแอ่นขึ้นมา หากมองจากด้านข้างจะเห็นชัด การตัดกรองพิมพ์มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู คือขอบบนแคบกว่าขอบล่างเล็กน้อย พิมพ์นี้ส่วนใหญ่จะมีสีผึ้งเคลือบผิวบางๆ เนื้อมวลสารแก่ปูนผิวพรรณจึงออกขาวนวล เนื้ออมเหลืองนั้นก็มีเช่นกันแต่พบน้อยมาก

    ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6*3.8 ซม.  

+++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อกใหญ่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

พิมพ์อกใหญ่

    1.มีเนื้อเกินบริเวณแนวโค้งด้านในเส้นซุ้มขวามือองค์พระ
    2.มีเส้นทิวบางๆบนหน้าอก ลากพาดจรด หัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง (จุดสำคัญ)
    3.มีจุดเม็ดเล็กๆบริเวณข้อศอกขวาองค์พระ
    4.บริเวณลำองค์มีเส้นแนวดิ่งบางๆ 3-4 เส้น ดูไม่เรียบ
    5.จุดไข่ปลาอยู่ระดับเดียวกับหัวฐาน ชั้นที่ 3 ขวามือองค์พระ
    6.หลังมีลักษณะปาดเรียบมีรอยกระดาษทรายเกิดจากการขัดแต่งพิมพ์ ทั้งด้านหลัง และด้านข้าง มีรอยปริเป็นหลุมลึกคล้ายรูเข็มค่อนข้างน้อย

 

++++++++++++++++++++++++++++++

เศียรรูปไข่

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์เศียรรูปไข่
    ลักษณะพิมพ์ "เศียรรูปไข่" เศียรเป็นรูปวงรีดูกลมนูนคล้ายไข่ไก่ แขนและลำองค์อวบหนา ไหล่ทั้งสองข้างลู่ต่ำลง แขนวางแนบเข้าหาลำองค์พระ การตัดกรอบพิมพ์ค่อนข้างแนบชิดซุ้มทั้ง 4 ด้าน พิมพ์นี้ส่วนใหญ่น้ำมันเคลือบผิมมีทั้งหนาทั้งบาง เนื้อมวลสารแก่ปูนผิวพรรณจึงพบทั้งที่ออกขาวอมเหลืองและเนื้อขาวนวล ผิวเรียบตึงมีรอยย่นจากการหดแห้งเล็กน้อย


ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.5*3.7 ซม.


+++++++++++++++++++++++++++

 

เศียรรูปไข่(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์เศียรรูปไข่
    1.มีเนื้อเกินอยู่บริเวณข้างแก้มทั้ง 2 ข้าง แต่ด้านแก้มขวาองค์พระจะเห็นชัดกว่า
    2.จุดไข่ปลากลมนูนอยู่ระหว่างกึ่งกลางหัวฐานชั้นที่ 2 และที่ 3 ขวามือองค์พระพอดี
    3.มีเนื้อเกินอยู่ระหว่างฐานชั้นที่ 2 และ 3 เยื้องมาทางซ้ายมือองค์พระ

    พิมพ์นี้หากมองเผินๆ พิมพ์จะคล้ายกับพิมพ์หลังเต่า แต่จริงๆ แล้วรายละเอียดต่างๆ ไม่เหมือนกัน
    
 
++++++++++++++++++++++++++++++

หลังเต่า

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์หลังเต่า
    ลักษณะพิมพ์ "หลังเต่า" พระเกศเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่ ขอบค่อนข้างหนา หากมองจากขอบด้านบน หรือด้านล่างจะเห็นความหนาของขอบ และดูลักษณะเป็นแนวโค้งคล้ายหลังเต่า พิมพ์นี้มีทั้งแบบที่กดพิมพ์ลึก และกดตื้น ซึ่งอาจทำให้จุดสังเกตุแตกต่างกันบ้างไม่ครบถ้วน แต่ก็มาจากตัวบล็อคพิมพ์เดียวกัน เนื้อมวลสารขาว ถึงขาวอมเหลือง สีผึ้งเคลือบผิวค่อนข้างหนา พิมพ์นี้หากพระไม่ผ่านการล้าง มักจะพบว่าพระมีคราบปลวกเกาะติดมาด้วย

++++++++++++++++++++++++++++++

 

หลังเต่า(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์หลังเต่า (แบบลึก)
    1.มุมขอบซ้ายบนองค์พระมีเส้นนูนเป็นแนวยาว (จุดสำคัญ)
    2.มีก้อนเนื้อนูนอยู่บนพระพักตร์
    3.เข่าซ้ายองค์พระขยักซ้อนกันเป็น 2 ชั้น
    4.จุดไข่ปลาเม็ดค่อนข้างเล็ก อยู่ระหว่างชั้นที่ 2 และ 3 ขวามือองค์พระพอดี
    
ขนาดเท่าองค์จริง สูงประมาณ 3.7 ซม.

++++++++++++++++++++++++++++++

 

หลังเต่า (คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

พิมพ์หลังเต่า (แบบตื้น)
    1.มุมขอบซ้ายบนองค์พระมีเส้นนูนเป็นแนวยาว (จุดสำคัญ) จุดนี้จะติดชัดทั้งแบบลึก และแบบตื้น
    2.พระแบบตื้น กดพิมพ์มาจากตัวบล็อคพิมพ์เดียวกับแบบลึก แต่จุดสังเกตต่างๆ อาจจะไม่ติดชัดครบถ้วนแตกต่างกันบ้าง

++++++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์หลังเต่า ด้านหลัง ด้านข้าง
    - หลังมีลักษณะปาดเรียบมีรอยกระดาษทรายเกิดจากการขัดแต่งพิมพ์ ทั้งด้านหลัง และด้านข้าง มีรอยปริเป็นหลุมลึกคล้ายรูเข็มให้เห็นประปรายอยู่ทั่วองค์
    - ด้านข้าง หากมองจากขอบด้านล่าง จะเห็นลักษณะของพื้นผิวด้านหน้าองค์พระ เป็นแนวโค้งคล้ายหลังเต่า

++++++++++++++++++++++++++++++

ต้อ

 

รุ่น 100 ปี พิมพ์ต้อ
    พิมพ์ "ต้อ" พิมพ์นี้มีลักษณะเด่นเป็นที่สังเกตุได้ง่ายตรงที่มีขนาดหดสั้นกว่าพิมพ์อื่น การตัดขอบพิมพ์บริเวณด้านบน และด้านล่าง จะตัดชิดซุ้ม จึงทำให้ส่วนสูงพิมพ์พระดูหดสั้นลง พิมพ์นี้มีจุดไข่ปลามีลักษณะคล้ายเม็ดแคปซูล อยู่ระหว่างฐานชั้นที่ 2 และ 3 แต่ดูเยื้องใกล้กับฐานชั้นที่ 3 มากกว่าเล็กน้อย พระเกศเรียวแหลม พระเศียรกลมโต หน้าตักและวงแขนกว้าง น้อยองค์ที่จะมีรายละเอียดติดชัด ผิวเรียบแน่น ขอบข้างไม่หนา มีบิดเบี้ยวบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเหลืองถึงเหลืองจัด บางองค์ออกอมน้ำตาลเลยก็มี ผิวหดแห้งแกร่งตามธรรมชาติความเก่า แต่ละองค์จะมีเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์ เป็นข้อดีของพระพิมพ์นี้เพราะทำให้เลียนแบบยากทำให้พิมพ์ต้อเป็นพิมพ์ที่มีพระเก๊น้อยที่สุด

    ขนาดเท่าองค์จริง ประมาณ 2.6*3.6 ซม.  

+++++++++++++++++++++++++++

 

พิมพ์ต้อ(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)

 

หลักการพิจารณา พิมพ์ต้อ
    1.แนวเส้นซุ้มขยักเป็นมุมหักเป็นช่วงๆไม่โค้งเสมอกัน
    2.พระเกศเรียวยาว พระพักตร์กลมโต
    3.หน้าตักกว้าง
    4.จุดไข่ปลามีลักษณะคล้ายเม็ดแคปซูล
    5.มีรอยยุบเป็นแอ่งบริเวณหัวฐานชั้นที่ 1 ด้านซ้ายมือองค์พระ

++++++++++++++++++++++++++++++


พิมพ์ต้อ สภาพต่างๆ


++++++++++++++++++++++++++++++

หมวดหมู่รอง

หน้า 1 จาก 3

clientlogo 01
clientlogo 02
clientlogo 03

youtubechannel
www.youtube.com/zian100pi

13909059
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
14643
24857
146430
13542556
648386
1023275
13909059
Your IP: 3.133.117.107
Server Time: 2024-11-23 14:22:05