พิมพ์เศียรโต (A) บล็อคแรก แบบไม่เต็มพิมพ์
จุดสังเกตุที่จะทราบได้อย่างไรว่าพิมพ์เศียรโตองค์นั้นๆ เต็มพิมพ์หรือไม่เต็มพิมพ์ ให้ดูจากจุดที่ตื้น และบางที่สุดของแม่พิมพ์นั่นก็คือ เส้นแซมอยู่ใต้องค์พระ ที่เหล่านักสะสมเรียกกันติดปากว่า "เส้นผ้าทิพย์" เนื่องจากจุดนี้เป็นจุดที่ตื้น และบางที่สุด การจะกดให้เห็นได้นั้น แม่พิมพ์ต้องสะอาด และกดได้แน่นมากพอ ยิ่งเส้นผ้าทิพย์ติดชัดมากเท่าไร จุดอื่นๆ ในพิมพ์ก็จะยิ่งติดชัดมากขึ้นตามไปด้วย
เพราะแม่พิมพ์พระผงมักจะสามารถกดพระออกมาเต็มสมบูรณ์ได้เพียงไม่กี่องค์แรกเท่านั้น จากนั้นแม่พิมพ์ก็จะถูกผงเข้าไปอุดตามซอกต่างในพิมพ์ ทำให้องค์ที่กดถัดๆ มาจะค่อยๆ ตื้นขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ เหตุนี้ทำให้พิมพ์เศียรโต ที่เต็มพิมพ์นั้น จึงมีจำนวนที่น้อยมาก และเป็นที่เสาะแสวงหาของเหล่านักสะสมมากที่สุด และมีผลต่อมูลค่าความนิยมนั่นเอง
เหตุที่แยกพระแบบเต็มพิมพ์ และไม่เต็มพิมพ์นั้น ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ระหว่างพระที่กดก่อนกดหลัง ทั้งลึกและตื้นออกมาต่างสภาพกัน จะยังสามารถสังเกตจุดพิจารณาพิมพ์ที่สำคัญๆ ได้จากจุดใดบ้างนั่นเอง
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
จุดพิจารณาสำคัญ
1.พระเศียรกลมโต มีเส้นครอบบริเวณพระพักตร์
2.มีจุดไข่ปลาในซอกแขนซ้ายองค์พระ
3.เส้นผ้าทิพย์ติดลางๆ ไม่ชัด
4.มีจุดไข่ปลาในรอยเว้า ใต้เส้นปิดซุ้ม
5.มีเนื้อเกินเป็นทิวยาวเป็นช่วงๆ ตลอดแนวเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระ
6.มีเนื้อเกินสั้นๆ อยู่เหนือสุดของแนวโค้งเส้นซุ้ม
7.มีเนื้อเกินเป็นทิวยาว ข้างแขนขวาองค์พระ
8.มีหลุมเล็กๆ และเนื้อเกิน บริเวณขอบนอกเส้นซุ้มด้านขวาองค์พระ
9.มีจุดไข่ปลาในรอยเว้า ใต้เส้นปิดซุ้ม
10.มีเส้นครอบบริเวณพระพักตร์
ด้านหน้า
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
ด้านหลัง
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
ด้านข้าง
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)